เครื่องมือต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ งบการเงิน

ในการวิเคราะห์ งบการเงิน นั้นมีเครื่องมือและเทคนิคหลากหลาย เพื่อตีความข้อมูล ประเมินผลประกอบการและสถานะทางการเงินของกิจการ ที่มีความสะดวกทั้งการเปรียบเทียบกับตนเองในอดีต และเปรียบเทียบกับคู่แข่งและค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
อัตราส่วนสภาพคล่อง (LIQUIDITY RATIO)
อัตราส่วนสภาพคล่อง Current Ratio | = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน | (เท่า) |
วัด ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าค่าที่คำนวณได้สูงเท่าใด แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ประกอบไปด้วย เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือมากกว่าหนี้ระยะสั้น ทำให้คล่องตัวในการชำระหนี้ระยะสั้นมีค่อนข้างมาก โดยปกติ อัตราส่วน 2 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว | ||
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว Quick Ratio | = (เงินสดและเงินฝากธนาคาร + หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด + ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ) / หนี้สินหมุนเวียน | (เท่า) |
เป็น การวัดส่วนของสินทรัพย์ที่ได้หักค่าสินค้าคงเหลือ ซึ่งมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ต่ำสุดออก เพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการได้ โดยปกติอัตราส่วน 1 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว | ||
อัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสด | = กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน /หนี้สินหมุนเวียนเฉลี่ย | (เท่า) |
อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า AR Turnover | = ขายสุทธิ / (ลูกหนี้การค้าก่อนหนี้สงสัยจะสูญ + ตั๋วเงินรับการค้า) (เฉลี่ย) | (เท่า) |
หากค่าที่คำนวณได้มีค่าสูง แสดงถึงความสามารถในการบริหารลูกหนี้ให้แปลงสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว | ||
ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย | = 360 / อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า | (วัน) |
ยิ่งต่ำยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ว่าสั้นหรือยาว เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้ ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้ และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ | ||
อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ Inventory Turnover | = ต้นทุนขาย / สินค้าคงเหลือ (เฉลี่ย) | (เท่า) |
หากค่าคำนวณได้สูง ย่อมแสดงถึงความสามารถในการบริหารการขายสินค้าได้เร็ว | ||
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย | = 360 / อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ | (วัน) |
ยิ่งขายได้เร็ว (ระยะเวลาสั้น) ยิ่งดี | ||
อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้ AP Turnover | = ซื้อหรือต้นทุนขาย / (เจ้าหนี้การค้า + ตั๋วเงินจ่ายการค้า) (เฉลี่ย) | (เท่า) |
ระยะเวลาชำระหนี้ | = 360 / อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้ | (วัน) |
Cash cycle | = ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย + ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย – ระยะเวลาชำระหนี้ | (วัน) |
อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (PROFITABILITY RATIO)
อัตรากำไรขั้นต้น Gross Profit Margin ยิ่งสูงยิ่งดี | = (ยอดขายสุทธิจากการขายและให้บริการ – ต้นทุนขายจากการขายและให้บริการ) / ขายสุทธิ | (%) |
อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน | = กำไรจากการดำเนินงาน / ขายสุทธิ | (%) |
แสดงรายได้จากการขายที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว หากอัตราส่วนนี้ลดลง อาจจะมีสาเหตุจากกำไรขั้นต้นต่ำเกินไป เนื่องจากต้นทุนสูง หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ สูงขึ้นไม่สัมพันธ์กัยอดขาย ซึ่งต้องปรับปรุงแก้ไขและควบคุมอย่างเร่งด่วน | ||
อัตรากำไรสุทธิอื่น | = กำไรที่ไม่ได้จากการดำเนินงาน / รายได้รวม | (%) |
อัตราส่วนเงินสดต่อการทำกำไร | = กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน / กำไรจากการดำเนินงาน | (%) |
อัตรากำไรสุทธิ Net Profit Margin | = กำไรสุทธิ / รายได้รวม | (%) |
ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมทั้งภาษีเงินได้หมดแล้ว | ||
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น Return on Equity (ROE) | = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น (เฉลี่ย) | (%) |
ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงให้เห็นว่าเงินลงทุนในส่วนของเจ้าของ จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจากการดำเนินการของกิจการนั้นในอัตราส่วนเท่าไร หากมีค่าสูง แสดงถึงประสิทธิภาพในการหากำไรสูงด้วย |
อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (EFFICIENCY RATIO)
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ Return on Asset (ROA) | = กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวม (เฉลี่ย) | (%) |
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover) | = (กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อมราคา) / สินทรัพย์ถาวรสุทธิ (เฉลี่ย) | (%) |
อัตราการหมุนของสินทรัพย์ (Total Assets Turnover) | = รายได้รวม / สินทรัพย์รวม (เฉลี่ย) | (เท่า) |
แสดงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทเพื่อให้เกิดรายได้ อัตราส่วนยิ่งมาก แสดงว่ามีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ดี |
อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (FINANCIAL POLICY RATIO)
อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น | = หนี้สินที่มีดอกเบี้ย / ส่วนของผู้ถือหุ้น | (เท่า) |
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น Debt to Equity (D/E) | = หนี้สินรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น | (เท่า) |
ยิ่งต่ำ ยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในด้านเจ้าหนี้และเจ้าของกิจการ ถ้าอัตราส่วนสูง แสดงว่า กิจการมีความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ | ||
อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio: ICR) | = กำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่ายภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย / ดอกเบี้ยจ่ายจากการดำเนินงานและลงทุน | (เท่า) |
เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง | ||
อัตราส่วนความสามารถชำระภาระผูกพัน | = กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน / (การจ่ายชำระหนี้สิน + ดอกเบี้ยจ่ายจากการดำเนินงานและการลงทุน + รายจ่ายลงทุน+ซื้อสินทรัพย์+เงินปันผลจ่าย) | (เท่า) |
อัตราการจ่ายเงินปันผล | = เงินปันผล / กำไรสุทธิ | (%) |
แสดงถึงนโยบายการจ่ายเงินปันผลของธุรกิจ | ||
กำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share: EPS) | = กำไรสุทธิ-เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ/จำนวนหุ้นสามัญ | (เท่า) |
สัญญาณเตือนภัยจากการวิเคราะห์ งบการเงิน
- ขาดทุนมาก ๆ และติดต่อกันหลายปี
- ระยะเวลาการเก็บหนี้นานขึ้น
- อัตราหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของสูงขึ้นเร็วมาก
- สินค้าคงคลังสูงมากผิดปกติ
- ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
- ยอดขายสูงขึ้น แต่กำไรลดลง
- หนี้สูญเพิ่มขึ้น
- รายงานผู้สอบบัญชีผิดปกติ เปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่
- ขายสินทรัพย์ของบริษัท เพื่อสร้างกำไรให้เข้าเป้าในระยะสั้น