โครงสร้าง และ การจัด รูปแบบประวัติย่อ ให้ได้งานในปี 2022

คุณรู้หรือไม่ว่าโดยเฉลี่ยแล้วการคัด Resume นั้นใช้เวลานานแค่ไหนในการดูประวัติย่อแต่ละครั้ง? ตามสถิติแล้วอยู่ที่ ประมาณ 7 วินาที
ซึ่งหมายความว่าคุณมีเวลาเพียง 7 วินาทีในการนำเสนอประวัติย่อให้น่าดึงดูด เข้าใจได้ง่าย และน่าเชื่อถือ
ฉะนั้นการจัดวางโครงสร้างประวัติย่อ หรือการจัดรูปแบบทุกอย่างนั้นมีความสำคัญอย่างมาก แล้วโครงสร้างที่ดีเป็นอย่างไรล่ะ? เราจะมาเล่าให้ฟัง!
ในบทความนี้ เราจะแนะนำโครงสร้างประวัติย่อ 3 แบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด และช่วยคุณเลือกโครงสร้างที่เหมาะกับคุณ มาเริ่มกันเลยดีกว่า
วิชา : รูปแบบประวัติย่อ 101
รูปแบบประวัติย่อ ยอดนิยมทั้ง 3 แบบที่เราจะพูดถึงในบทความนี้คือ:
- โครงสร้างแบบเน้นประวัติย่อย้อนหลัง
- โครงสร้างแบบเน้นหน้าที่การทำงาน
- โครงสร้างประวัติย่อแบบผสม
ก่อนที่เราจะไปลงรายละเอียดกันนั้นมีข้อมูลที่ควรทราบก่อน ดังนี้
โครงสร้างเหล่านี้แต่ละโครงสร้างจะเน้นส่วนต่างๆ ของเรซูเม่ของคุณ ดังนั้นการเลือกใช้แบบใดนั้นจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์การทำงาน ทักษะ หรือภูมิหลังโดยรวมของคุณ
ตามหลักการแล้วคุณควรที่จะเลือกโครงสร้างรูปแบบที่ทำให้โปรไฟล์ของคุณดูโดดเด่นที่สุด
ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณเพิ่งเรียนจบมาโดยยังไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน โครงสร้างแบบเน้นหน้าที่การทำงาน น่าจะเหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ เนื่องจากเน้นที่ทักษะที่ถนัดของคุณ
ในทางกลับกัน ถ้าคุณมีประสบการณ์ผู้เชี่ยวชาญควรเลือกใช้โครงสร้างแบบเน้นประวัติย่อย้อนหลังซึ่งมีประสบการณ์การทำงานเป็นหลัก
#1. โครงสร้างแบบเน้นประวัติย่อย้อนหลัง
เราสามารถพูดได้ว่าโครงสร้างประวัติย่อนี้เป็นหนึ่งในโครงสร้างที่ใช้มากที่สุดในปี 2565 ด้วยการลำดับประวัติย้อนหลังทำให้ง่ายต่อการกวาดตาอ่าน และยังเน้นย้ำถึงประสบการณ์และทักษะการทำงานของผู้สมัคร ทำให้เป็นที่นิยมสำหรับมืออาชีพส่วนใหญ่
นอกเหนือจากส่วนประสบการณ์การทำงานและทักษะแล้ว ข้อมูลอื่น ๆ ที่ระบุเพิ่มเติมได้แก่:
- ข้อมูลติดต่อ – ระบุชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่ และอีเมลของคุณอย่างถูกต้อง คุณยังสามารถรวมลิงก์ไปยังโปรไฟล์ LinkedIn หรือ GitHub ของคุณได้
- สรุปหรือวัตถุประสงค์ของประวัติย่อ – เป็นประโยค 2-4 ประโยคเกี่ยวกับประสบการณ์และความสำเร็จสูงสุดของคุณ หรือทักษะและเป้าหมายในอาชีพของคุณ
- ประสบการณ์การทำงาน – ระบุประสบการณ์การทำงานของคุณตามลำดับเวลาโดยนำประวัติล่าสุดขึ้นมาเสนอก่อน และเน้นที่ความรับผิดชอบและผลงานของคุณ
- ทักษะ – รวมทักษะที่เกี่ยวข้องมากที่สุดของคุณ
- การศึกษา – ป้อนประวัติการศึกษาของคุณโดยนำประวัติล่าสุดขึ้นมาเสนอก่อน คุณสามารถข้ามประวัติการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้หากคุณได้จดทะเบียนปริญญาตรีแล้ว
- ส่วนเสริม – หากคุณมีพื้นที่เพิ่มเติม คุณสามารถเชื่อมโยงส่วนต่างๆ เช่น ประสบการณ์อาสาสมัคร โครงการส่วนตัว ภาษา งานอดิเรกและความสนใจ เป็นต้น
ตัวอย่างที่ได้จะมีลักษณะดังนี้:

เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจว่านี่คือโครงสร้างประวัติย่อที่เหมาะกับคุณหรือไม่ เราได้สร้างตารางข้อดีและข้อเสียที่กระชับเพื่อช่วยคุณเลือก:
ข้อดี:
- เน้นประสบการณ์การทำงานและความสำเร็จในอาชีพของคุณ
- ง่ายและรวดเร็วในการกวาดสายตาดูผ่านอย่างรวดเร็ว
- เข้าใจได้ง่าย เนื่องจากลำดับประสบการณ์จากปัจจุบันไปอดีต
จุดด้อย:
- อาจจะเน้นไปที่เรื่องการเปลี่ยนงานมากเกินไป ดูมีแนวโน้มเปลี่ยนงานบ่อย
- อาจจะเกิดคำถามจากช่วงรอยต่อที่มีการเปลี่ยนงาน
#2. โครงสร้างแบบเน้นหน้าที่การทำงาน
โครงสร้างแบบเน้นหน้าที่การทำงาน เน้นที่ทักษะที่มีมากกว่าประสบการณ์การทำงาน จึงเป็นที่นิยมอย่างมากกับผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา หรือ ผู้ที่เปลี่ยนงานบ่อย
แทนที่จะเป็นส่วนประวัติย่อทั่วไป โครงสร้างประวัติการทำงานมีดังต่อไปนี้:
- ข้อมูลติดต่อ
- สรุปประวัติย่อหรือวัตถุประสงค์
- สรุปทักษะ/จุดแข็ง – คำอธิบายทักษะและวิธีนำไปใช้กับตำแหน่งที่คุณสมัคร
- ส่วนเสริม
- การศึกษา
คุณจะสังเกตเห็นความแตกต่างที่สำคัญที่สุดของโครงสร้างนี้ คือนอกเหนือจากประสบการณ์ในการทำงานที่หายไปแล้ว ก็คือรายละเอียดของทักษะ
โครงสร้างเรซูเม่อื่นๆ จะแสดงรายการทักษะที่มี โดยไม่อธิบายเพิ่มเติม หรือขยายความ
ในขณะที่โครงสร้างที่ต้องการชูจุดเด่นเรื่องทักษะที่มีนั้น เป็นส่วนสำคัญของเรซูเม่นี้ ทำให้ต้องใส่รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษะเหล่านั้นและเน้นจุดแข็งของคุณ
นี่เป็นการโน้มน้าวผู้สัมภาษณ์งานว่าถึงแม้คุณจะมีประสบการณ์การทำงานที่น้อย แต่คุณมีทักษะที่จำเป็นซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับตำแหน่งนี้
ตัวอย่างเช่น หากคุณเพิ่งสำเร็จการศึกษา คุณสามารถระบุความเป็นผู้นำเป็นหนึ่งในทักษะของคุณ และอธิบายอย่างละเอียดว่ากิจกรรมและหลักสูตรต่างๆ ของมหาวิทยาลัยช่วยให้คุณพัฒนาและพิสูจน์ทักษะดังกล่าวได้อย่างไร
คุณสามารถดูตัวอย่างด้านล่างประกอบได้

วิธีการจัดโครงสร้างนี้ทำให้ประวัติการทำงานไม่ได้ถูกระบุรายละเอียดลงไป รูปแบบนี้จึงถูกใช้โดยกลุ่มผู้สมัครบางกลุ่มเท่านั้นเช่น:
- นิสิต นักศึกษา จบใหม่
- ผู้ที่เปลี่ยนอาชีพบ่อย
- ผู้ที่รับงานอิสระ (Freelance)
- ผู้สมัครไม่ตรงสายงาน
ลองชั่งน้ำหนักข้อดีและข้อเสียต่อไปนี้ด้วย:
ข้อดี:
- เน้นทักษะเฉพาะและจุดแข็ง
- ช่วยให้คุณอธิบายว่าทักษะเหล่านี้นำไปใช้กับตำแหน่งอย่างไร
- ใช้ไอเดียสร้างสรรค์เพื่ออธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวและแสดงความเป็นตัวตนได้
จุดด้อย:
- เนื่องจากรูปแบบนี้ไม่ได้รวมประสบการณ์การทำงาน ฝ่ายบุคคลอาจสงสัยว่าคุณกำลังปิดบังบางอย่างอยู่
- โปรแกรมสำหรับคัดกรอง CV อาจไม่เข้าใจ
#3. โครงสร้างประวัติย่อแบบผสม
เรียกอีกอย่างว่ารูปแบบ “ไฮบริด” โดยรูปแบบผสมนี้จะผสมองค์ประกอบจากทั้งโครงสร้างแบบเน้นประวัติย่อย้อนหลัง และโครงสร้างแบบเน้นหน้าที่การทำงานเข้าด้วยกัน โดยที่ระบุทั้งประสบการณ์การทำงาน และเพิ่มเติมส่วนทักษะ/จุดแข็ง โดยให้น้ำหนักทั้งสองอย่างเท่าเทียมกัน
เพื่อให้เกิดความสมดุล โดยทั่วไปส่วนต่างๆ จะถูกจัดโครงสร้างตามลำดับต่อไปนี้:
- ข้อมูลติดต่อ
- สรุปประวัติย่อหรือวัตถุประสงค์
- สรุปทักษะ/ จุดแข็ง
- ประสบการณ์การทำงาน
- การศึกษา
- ส่วนเสริม
หรือเป็นไปตามตัวอย่างด้านล่างนี้:

ดังที่คุณจะสังเกตได้ว่าส่วนต่างๆ เกือบจะเหมือนกับโครงสร้างแบบเน้นหน้าที่การทำงาน แต่มีการเพิ่มส่วนประสบการณ์การทำงานเข้าไป เพื่อทำให้โครงสร้างนี้สมบูรณ์แบบหากคุณมีประสบการณ์การทำงานที่มากพอ แต่ต้องการเน้นทักษะของคุณไปพร้อม ๆ กัน
นี่คือข้อดีและข้อเสียของโครงสร้างการรวมกัน:
ข้อดี:
- ให้คุณเน้นทั้งประสบการณ์และทักษะในการทำงานโดยใช้พื้นที่น้อยที่สุด
จุดด้อย:
- ระบบติดตามผู้สมัคร (ATS) เข้าใจยาก
- ไม่เหมาะหากคุณเพิ่งจบการศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์การทำงาน
ฉันควรเลือกโครงสร้างประวัติย่อแบบใด
เมื่อคุณคุ้นเคยกับโครงสร้างประวัติย่อทั้ง 3 โครงสร้างแล้ว ก็ถึงเวลาเลือกโครงสร้างที่เหมาะกับคุณ
แม้ว่าโครงสร้างแต่ละโครงสร้างจะมีข้อดีแตกต่างกันไป แต่เราขอแนะนำให้ใช้โครงสร้างแบบเน้นประวัติย่อย้อนหลังเป็นอันดับแรก
ทำไมน่ะหรอ? นั่นเป็นเพราะ:
- ระบบติดตามผู้สมัครสามารถจดจำและสแกนได้อย่างง่ายดาย
- เป็นที่รู้จักและเป็นที่ชื่นชอบของฝ่ายบุคคลและบริษัทจัดหางานส่วนใหญ่
นอกจากว่าคุณจะเพิ่งจบการศึกษาหรือเปลี่ยนอาชีพบ่อย เราถึงจะแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงรูปแบบนี้
7+ เคล็ดลับการจัดรูปแบบประวัติย่อ
ไม่ว่าคุณจะเลือกโครงสร้างใด มีเคล็ดลับการจัดรูปแบบที่สำคัญและเป็นสากลที่คุณควรคำนึงถึง
- ใช้รูปแบบ CV สำเร็จรูป! เพื่อลดความยุ่งยากในการจัดรูปแบบและการจัดโครงสร้าง และเน้นที่เนื้อหาข้อมูลที่จะใส่เท่านั้น
- ทำให้อยู่ในหน้าเดียว ไม่มีฝ่ายบุคคลคนไหนอยากอ่าน CV ยาว ๆ และอาจจะรำคาญด้วยซ้ำ นอกเสียจากคุณมีประสบการณ์การทำงานมากจริง ๆ แต่ก็อย่าให้เกินสองหน้าล่ะ!
- ใช้ตัวอักษรมาตรฐาน ระบบติดตามผู้สมัครการแปลงตัวอักษรจากภาพเพื่อช่วยระบุข้อมูลในประวัติย่อของคุณ ดังนั้นการใช้ตัวอักษรที่แปลกมากเกินไป ระบบอาจไม่เข้าใจได้ โดยตัวอักษรที่นิยมได้แก่ Ubuntu, Roboto. และหลีกเลี่ยง Comic Sans จะดีกว่า
- มุ่งเน้นที่ความสำเร็จแทนความรับผิดชอบ โดยระบุเป็นหัวข้อ
- ประสบการณ์การทำงาน ให้ระบุ ชื่อบริษัท ที่ตั้ง ตำแหน่งงาน ระยะเวลาการจ้างงาน ความสำเร็จ และความรับผิดชอบ
- ให้บันทึกประวัติย่อของคุณเป็น PDF หรือ Docx และไม่ควรใช้ JPEG
ประเด็นที่สำคัญ
นี่คือทั้งหมดที่เกี่ยวกับโครงสร้างและการจัดรูปแบบประวัติย่อ!
ก่อนที่คุณจะเริ่มลงมือใช้สิ่งได้เรียนรู้ เรามาสรุปสั้นๆ ก่อน:
- โครงสร้างประวัติย่อสามอันดับแรกคือ: โครงสร้างแบบเน้นประวัติย่อย้อนหลัง, โครงสร้างแบบเน้นหน้าที่การทำงาน, โครงสร้างประวัติย่อแบบผสม
- โครงสร้างแบบเน้นประวัติย่อย้อนหลัง เน้นประสบการณ์การทำงานและเหมาะสำหรับผู้สมัครส่วนใหญ่ เป็นโครงสร้างที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและเป็นโครงสร้างที่เราขอแนะนำเช่นกัน
- โครงสร้างแบบเน้นหน้าที่การทำงาน มุ่งเน้นไปที่ทักษะและจุดแข็งแทนประสบการณ์การทำงาน ทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาล่าสุดและผู้เปลี่ยนอาชีพ
- โครงสร้างประวัติย่อแบบผสม เป็นการผสมผสานระหว่างทั้งสองอย่างและให้ความสำคัญกับทักษะและประสบการณ์การทำงานอย่างเท่าเทียมกัน